บทที่ 3
การจัดทำเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ทางธุรกิจ
ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำที่เกี่ยวกับ สื่อสิ่งพิมพ์
ไว้ดังนี้ สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ
หรือวัตถุใดๆที่พิมพ์ขึ้นรวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด
ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
ดังนั้น
สื่อสิ่งพิมพ์ จึงมีความหมายว่า สิ่งที่พิมพ์ขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใดๆด้วยวิธีการต่างๆอันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือนต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อหรือชักนำให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ
ข้อความต่างๆ (หมายเหตุ : ก. = คำกิริยา น. = คำนาม)
ประวัติสื่อสิ่งพิมพ์
ประวัติการพิมพ์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลป์ได้ปรากฏบนผนังถ้ำอัลตามิราในสเปนและถ้ำลาสควักซ์ในฝรั่งเศษมีผลงานแกะสลักผนังถ้ำเป็นรูปสัตว์ลายเส้นจึงเป็นหลักฐานในการแกะพิมพ์เป็นครั้งแรงของมนุษย์หลังจากนั้นได้มีบุคคลคิดวิธีการทำกระดาษขึ้นจนมาถึงการพิมพ์ในปัจจุบันนั้นคือ
ไซลั่น ซึ่งมีเชื้อสายจีนชาวจีนได้ผลิตทำหมึกแท่นขึ้น ซึ่งเรียกว่า บั๊ก
ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกรุงศรีอยุธยาได้เริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนาคริสต์ขึ้นและหลังจากนั้นหมอบรัดเลย์เข้ามาเมืองไทยและได้เริ่มด้านงานพิมพ์จนสนใจเป็นธุรกิจด้านการพิมพ์ในเมืองไทย
พ.ศ. 2382 ได้พิมพ์เอกสารทางราชการเป็นชิ้นแรก คือ หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น ซึ้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างพิมพ์จำนวน
9,000 ฉบับต่อมาเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2387 ได้ออกหนังสือฉบับแรกขึ้น คือ
บางกอกรีคอร์ดเดอร์เป็นจดหมายเหตุอย่างสั้นออกเดือนละ 2 ฉบับและใน 15 มิ.ย.
2404ได้พิมพ์หนังสือเล่มออกจำหน่ายโดยซื้อลิขสิทธิ์จำหน่ายในเมืองไทยหมอบรัดเลย์ได้ถึงแก่กรรมในเมืองไทยกิจการการพิมพ์ของไทยจึงเริ่มต้นเป็นของไทยหลังจากนั้นใน
พ.ศ. 2500 ประเทศไทยจึงนำเครื่องพิมพ์แบบโรตารี ออฟเซท
มาใช้เป็นครั้งแรกโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชนำเครื่องหล่อเรียงพิมพ์มาใช้กับตัวพิมพ์ภาษาไทย
ธนาคาร แห่งประเทศไทยได้จัดดรงพิมพ์ธนบัตรในเมืองไทยขึ้นใช้เอง
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
1.
หนังสือสารคดี
ตำรา แบบเรียน เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการในศาสตร์ความรู้ต่างๆเพื่อสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายด้วยความรู้ที่เป็นจริงจึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้อย่างถูกต้อง
2.
หนังสือบันเทิงคดีเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้เรื่องราวสมมติเพื่อให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลิน
สนุกสนาน มักมีขนาดเล็กเรียกว่าหนังสือฉบับกระเป๋าหรือ Pocket book
สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
1.
หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราวข่าวสารภาพและความคิดเห็นในลักษณะของแผ่นพิมพ์
แผ่นใหญ่
ที่ใช้วิธีการพับรวมกันซึ้งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะหนังสือพิมพ์รายวัน,รายสัปดาห์และรายเดือน
2.
วารสาร,นิตยสารเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระ
ข่าว ความ บันเทิง
ที่มีรูปแบบการนำเสนอที่โดดเด่นสะดุดตาและสร้างความสนใจให้กับผู้อ่านทั้งนี้การผลิตนั้นมีการกำหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอนทั้งลักษณะวารสาร
นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) รายเดือน
3.
จุลสารเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไรเป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษาหาความรู้มีกำหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้งๆหรือลำดับต่างๆในวาระพิเศษ
4.
สิ่งพิมพ์โฆษณา
4.1
โบร์ชัวร์
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็กๆเย็บติดกันเป็นเล่มจำนวน 8
หน้าเป็นอย่างน้อยมีปกหน้าและปกหลักซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะเกี่ยวกับโฆษณาสินค้า
4.2
ใบปลิว
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียวที่เน้นการประกาศหรือโฆษณามักมีขนาด A4 เพื่อง่ายในการแจกจ่ายลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจง่าย
4.3
แผ่นผับ
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยเน้นการนำเสนอเนื้อหาซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้นเป็นเนื้อหาที่สรุปใจความสำคัญลักษณะมีการพับเป็นรูปเล่มต่างๆ
4.4
.ใบปิด
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณาโดยใช้ปิดตามสถานที่ต่างๆมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษซึ่งเน้นการนำเสนออย่างโดดเด่นดึงดูดความสนใจ
สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่างๆแยกเป็นสิ่งพิมพ์หลักได้แก่
สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ
กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้าสิ่งพิมพ์รองได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุหรือลัง
สิ่งพิมพ์มีค่า
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นการนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่างๆซึ่งเป็นกำหนดตามกฎหมาย
เช่น ธนาณัติ บัตรเครดิต เช็คธนาคาร ตั๋วแลกเงิน หนังสือเดินทาง โฉนด เป็นต้น
สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์มีการผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน
ได้แก่ นามบัตร บัตรอวยพร ปฎิทิน บัตรเชิญ ใบส่งของ ใบเสร็จรับเงิน
สิ่งพิมพ์บนแก้ว สิ่งพิมพ์บนผ้า เป็นต้น
สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้แก่
Document
Formats E-book for Palm/PDA เป็นต้น
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์มีบทบาท
ดังต่อไปนี้
1.
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานสื่อมวลชนสื่อสิ่งพิมพ์มีความสำคัญในด้านการนำเสนอข้อมูล
ข่าวสาร สาระ
และความบันเทิงซึ่งเมื่องานสื่อมวลชนต้องเผยแพร่จึงต้องผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น
หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร
เป็นต้น
2.
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในสถานศึกษาสื่อสิ่งพิมพ์ถูกนำไปใช้ในสถานศึกษาโดยทั่วไปซึ่งทำให้ผู้เรียน
ผู้สอนเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เช่น หนังสือ ตำรา แบบเรียน
แบบฝึกหัดสามารถพัฒนาได้เป็นเนื้อหาในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
3.
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานด้านธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ที่ถูกนำไปใช้ในงานธุรกิจประเภทต่างๆ
เช่น งานโฆษรา ได้แก่ การผลิตหัวจดหมาย/ซองจดหมาย ใบเสร็จรับเงิน/ส่งของ
โฆษณาหน้าเดียว นามบัตร เป็นต้น
4.
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในงานธนาคารงานด้านการธนาคารซึ่งรวมถึงงานการเงินและงานที่เกี่ยวกับหลักฐานทางกฎหมายได้นำสื่อสิ่งพิมพ์หลายๆประเภทมาใช้ในการดำเนินงาน
เช่น ใบนำฝาก ใบถอน ธนบัตร เช็คธนาคาร ตั๋วแลกเงิน และหนังสือเดินทาง
5.
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าปลีกสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทางห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าปลีกใช้ในการดำเนินธุรกิจ
ได้แก่ ใบปิดโฆษณาต่างๆใบปลิว แผ่นพับ จุลสาร
การออกแบบและจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์
หลักการสร้างเอกสารสิ่งพิมพ์
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.
การระบุค่าต่างๆของโปรแกรม
ได้แก่ ค่ากำหนดแถบไม้บรรทัดว่าเป็นนิ้ว
เซนติเมตรหรือมิลลิเมตรและยังมีการกำหนดระยะกระโดดหรือที่เรียกว่า Tab
ซึ้งควรปรับแต่งค่าเหล่านี้ก่อนการพิมพ์ให้เหมาะกับความถนัดและเหมาะกับงานพิมพ์นั้นจะช่วยให้การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เกิดความสะดวกรวดเร็วและตรงกับความต้องการ
2.
การกำหนดค่าของกระดาษ
กระดาษแบ่งตามผิวได้ 2 ประเภทคือ
2.1
กระดาษไม่เคลือบผิวเป็นกระดาษที่ไม่มีการเคลือบของผิวกระดาษด้วยสารใดๆจะมีลักษณะเป็นผิวขรุขระ
2.2
การเคลือบผิว
เป็นกระดาษที่มีการเคลือบผิวด้วยสารเคมีที่ผิวกระดาษเพื่อให้เกิดความมันและเรียบซึ่งมาตรฐานสิ่งพิมพ์ขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน
ISO
แบ่งมาตรฐานกระดาษไว้ 3 ชุด ชุด A และ B สำหรับงานพิมพ์ทั่วไปและชุด C
สำหรับงานซองจดหมายซึ่งกระดาษจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสัดส่วนความกว้างและความยาวอยู่ที่ 1: 1.414 โดยประมาณ
3.
การตั้งค่าเครื่องพิมพ์
ได้แก่ การตั้งระยะกั้นหน้า การตั้งระยะกั้นหลัง การตั้งระยะขอบบน
หรือการตั้งระยะขอบล่างเครื่องพิมพ์แต่ละประเภทแตกต่างกันหากไม่ได้กำหนดค่าเครื่องพิมพ์งานพิมพ์ที่ได้อาจเสียระยะในการจัดพิมพ์ไว้ในเอกสาร
การจัดทำนามบัตร
1.
เข้าสู้โปรแกรมMicrosoft Word 2003 โดยการคลิกที่ Start>Microsoft
Word 2003
2.
คลิกเลือกคำสั่ง มุมมอง>บานหน้าต่างงาน หรือกด Ctrl+F1
3.
คลิกที่สร้างเอกสารใหม่
4.
เลือกคำสั่งบนคอมพิวเตอร์ของฉัน
5.
คลิกเลือก Mailing Lable Wizard
6.
คลิก ตกลง
7.
คลิกเลือก
สร้างป้ายผนึกเดียวกันหรือป้ายผนึกแบบเดียวกันทั้งหน้า คลิก
ตกลง
8.
คลิก ตัวเลือก
9.
เลือก C91149- Business
Card
10.
คลิก ตกลง
11.
ตั้งชื่อป้ายผนึก Label Card
12.
กำหนดค่า
13.
คลิก ตกลง
14.
คลิก เอกสารใหม่
15.
จะได้โครงร่างนามบัตรขนาดมาตรฐานจำนวน 8 ใบ
การจัดทำแผ่นพับ
1.
เมื่อเข้าสู้โปรแกรม Microsoft Word
2003โดยการคลิกที่ Start>Microsoft
Word 2003
2.
คลิกเมนูแฟ้ม >เลือกตั้งค่าหน้ากระดาษ >เลือกแนวนอนคลิก ตกลง
3.
คลิกเมนูรูปแบบ >เลือกคอลัมน์ >กำหดจำนวนคอลัมน์ตามตัวอย่างหรือตามจำนวนพับข้อมูลที่ต้องการ
คลิก ตกลง
การจัดทำแผ่นป้ายโฆษณา
ตัวอักษรหรือข้อความในแผ่นป้ายโฆษณาเป็นการบรรยายข้อมูลสาระให้รับรู้ดั้งนั้นการกำหนดตัวอักษรจึงควรเน้นในเรื่องของขนาดตัวอักษรรูปแบบตัวอักษรและสีตัวอักษร
ขนาดตัวอักษร ตัวอักษรในแผ่นป้ายโฆษราโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3
ขนาด คือ
1.
ขนาดใหญ่
ใช้สำหรับข้อความพาดหัว
2.
ขนาดกลาง ใช้สำหรับข้อความพาดหัวรอง
3.
ขนาดเล็ก ใช้สำหรับข้อความรายละเอียดที่เสนอเนื้อหาสาระ
การสร้างสรรค์รูปแบบตัวอักษรให้สวยงามแปลกตาและสอดคล้องกับลักษณะข้อความมีความชัดเจนทำให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเทคนิคการออกแบบตัวอักษรให้สวยงามเป็นส่วนทำให้เกิดแรงบัดดาลใจให้อยากรู้อยากเห็นมากกว่ารูปแบบตัวอักษรธรรมดา
สีของตัวอักษร กำหนดสีของตัวอักษรเพื่อเน้นข้อความให้ชัดขึ้นสวยงามขึ้นการกำหนดสีอักษรทำได้ 3
ประการ ดังนี้
1.
ค่าน้ำหนักสี
สีของตัวอักษรควรมีค่าน้ำหนักที่ตัดกันกับสีพื้นและควรเป็นสีที่แย้งกันกับสีพื้นให้มากที่สุดการตัดกันมากทำให้มีความเด่นชัดของตัวอักษรมากสีที่ไกล้เคียงกันทำให้ความชัดเจนลดลงและอ่านยากขึ้นวิธีการง่ายๆคือใช้วงล้อสีธรรมชาติโดยใช้สีที่อยู่ตรงกันข้ามกันของวงล้อสีก็ช่วยให้ตัวอักษรเด่นชัดขึ้น
2.
สีของตัวอักษรต้องไม่ใช้หลายสีจนเกินไปภายใน
1
แผ่นป้ายโฆษณาข้อความเดียวกันควรใช้สีเดียวกันและไม่ควรใช้สีตัดกันระหว่างสีพื้นกับสีตัวอักษรเพราะทำให้ลายตา
3.
ควรใช้สีที่เหมาะสมกับคำหรือข้อความนั้นๆข้อความที่เน้นความเร่าร้อนตื่นเต้นอาจใช้สีแดง
สีส้ม ส่วนข้อความที่แสดงถึงความสงบนิ่ง ความเย็นอาจใช้สีเหลือง สีเขียว
สีฟ้าหรือน้ำเงิน
การจัดทำแผ่นปลิว
หลักการออกแบบแผ่นปลิว
ในการออกแบบแผ่นปลิว
ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.
ความมีเอกภาพ
2.
ความกลมกลืน
3.
ความมีสัดส่วนที่สวยงาม
4.
ความมีสมดุล
5.
ความมีจุดเด่น
องค์ประกอบในการออกแบบแผ่นปลิว
ส่วนประกอบสำคัญที่สร้างสรรค์แผ่นปลิวให้น่าสนใจแบ่งออกเป็น 2
ส่วน คือ
1.
ตัวอักษรและตัวพิมพ์
2.
ภาพและส่วนประกอบการตกแต่งภาพ
ตัวอักษรและตัวพิมพ์
เป็นส่วนแจกแจงรายละเอียดของข้อมูลเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอควรจัดรูปแบบและตำแหน่งให้สวยงามมีความชัดเจนซึ่งการออกแบบการเลือกแบบต้องมีลักษณะเด่น
อ่านง่าย น่าสนใจ ลักษณะที่แตกต่างกันของตัวอักษรซึ่งถูกกำหนดตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1
เป็นหัวเรื่อง ชื่อสินค้า ชื่อหัวข่าว
หรือข้อความที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษส่วนนี้จะเน้นรูปแบบของตัวอักษรมากๆที่สุด
ส่วนที่ 2
เป็นส่วนข้อความที่แสดงเนื้อหารายละเอียดต่างๆ
ภาพและส่วนประกอบการตกแต่งภาพที่ต้องการตกแต่งให้เกิดความสวยงามทำหน้าที่ในการถ่ายทอดจิตนาการออกมาเพื่อใช้ในการนำเสนอแนวคิดให้เป็นรูปธรรมตามความคิดซึ่งวัตถุประสงค์ของการนำภาพมาใช้ประกอบสื่อสิ่งพิมพ์
ได้แก่
1.
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างงานทำให้ผู้ดูหรือผู้อ่านได้รับความรู้และยอมรับในรูปแบบ ลักษณะเฉพาะและส่วนประกอบต่างๆของงานนั้น
2.
เพื่อสร้างความสวยงามของงานความคิดสร้างสรรค์ของการออกแบบและการนำเสนอภาพโดยมุ่งเน้นให้ภาพเสนอเนื้อหา
3.
เพื่อดึงดูดความสนใจแก่ผู้พบเห็นและกลุ่มเป้าหมายโดยตรง
4.
ทำให้งานนำเสนอเกิดความง่ายในการจดจำ
5.
เพื่อปิดบังความด้อยคุณภาพของงาน
6.
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อความหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น