หน้าเว็บ

ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ ๑ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ SME


       บทที่1
ความรู้เบื้องต้นขนาดย่อม
สาระสำคัญ
                การประกอบธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง และมีการลงทุนเป็นจำนวนมากทางออกอีกอย่างหนึ่งของการประกอบธุรกิจคือการจัดทำธุรกิจขนาดย่อมซึ่งมีการลงทุนน้อย และสามารถที่จะเลือกที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจได้ การประกอบธุรกิจขนาดย่อมในการปัจจุบันนี้เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก มีหลากหลายธุรกิจ ให้เลือกทำในหนังสือเล่มนี้จะเป็นการนำเสนอการทำธุรกิจขนาดย่อมที่เกี่ยวข้องทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถนำไปแตกแขนงเป็นธุรกิจได้อย่างมากมาย
สาระการเรียนรู้
1.   ความหมายและลักษณะของการประกอบธุรกิจขนาดย่อม
2.   ประโยชน์ของธุรกิจขนาดย่อม
3.   การบริหารจัดการธุรกิจ SMEs เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน
4.   ระบบบริหารการจัดการเชิงคุณภาพเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ

สมรรถนะที่พึงประสงค์
1.   สามารถบอกความหมายและลักษณะของการประกอบธุรกิจขนาดย่อมได้
2.   สามารถบอกประโยชน์ที่ได้รับจากการประกอบธุรกิจขนาดย่อมได้
3.   สามารถอธิบายการบริหารจัดการ SMEs เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันได้
4.   สามารถอธิบายระบบบริหารจัดการเชิงคุณภาพเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศได้






ความหมายและลักษณะของการประกอบธุรกิจขนาดย่อม
การประกอบธุรกิจขนาดย่อม  มีความหมายลักษณะ ดังนี้
1.             เป็นการบริหารจัดการอย่างอิสระโดยมีผู้บริหารเป็นเจ้าของกิจการ
2.             เงินที่ใช้ในการลงทุนนั้น  เป็นเงินส่วนตัว  หรือเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคน ที่รวมกลุ่มกับเพื่อจัดทำกิจการทางด้านธุรกิจ
3.             พื้นที่ในการดำเนินการโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นการทำภายในท้องถิ่น โดยพนักงานและเจ้าของกิจการมักจะอาศัยในชุมชนเดียวกัน แต่ทำการผลิตสินค้าและบริการไม่จำเป็นต้องหาตลาดภายในพื้นที่เท่านั้น สามารถส่งไปยังตลาดนอกชุมชนหรือพื้นที่อื่น
4.             ธุรกิจจะมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทั้งทางด้านจำนวนพนักงาน เงินลงทุน ทรัพย์สินและยอขาย                                                                                                                                                   
                        จากความหมายและลักษณะข้างต้นจะต้นจะเห็นได้ว่าธุรกิจขนาดย่อมจะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากธุรกิจขนาดใหญ่ดังนี้
1.             มียอดขายที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับกิจการขนาดใหญ่ แต่สามารถที่จะอยู่ได้
2.             การให้บริการในด้านฝีมือจะเน้นตอบสนองลูกค้าเฉพาะราย
3.             การให้บริการเน้นความเป็นส่วนตัว โดยใช้ความสามารถและบุคลิกภาพของผู้ประกอบธุรกิจเป็นสำคัญ
4.             การให้บริการลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้ง่าย
5.             เป็นธุรกิจที่สามารถปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นได้ง่ายและรวดเร็ว
6.             ต้นทุนในการดำเนินการต่ำ เพราะเป็นการใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลักและใช้เครื่องจักรแบบง่ายๆไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ




ประโยชน์ของธุรกิจขนาดย่อม
ประโยชน์ของธุรกิจขนาดย่อมนั้นเหมือนกับธุรกิจขนาดใหญ่โดยทั่วไปดังนี้
1.             ก่อให้เกินสร้างงานใหม่(Providing New  Jobs) การประกอบธุรกิจขนาดย่อมนั้น เป็นการสร้างธุรกิจใหม่ให้กินขึ้น นั่นก็หมายถึงการสร้างงานใหม่ ทำให้เกิดประโยชน์ในด้านตลาดแรงงาน โดยการสร้างงานใหม่จะสามารถทำได้สองทางคือการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ และการขยายธุรกิจเดิม ส่งผลให้มีการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น
2.             ก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม (Introducing Innovation) ในการประกอบธุรกิจขนานย่อยนั้นจะเป็นจุดเริมต้นของการผลิตสินค้า ที่สามารถทำให้เกิดนวัตกรรมการผลิตนำไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่ได้ในอนาคต อย่างเช่น การทำธุรกิจด้านอาหารในเบื้องต้นอาจมีการผลิตที่ให้บริการภายในพื้นที่ แต่เมื่อมีการตอบรับเป็นอย่างดี อาจจะต้องทำให้มีการสร้างรูปแบบหรือ นวัตกรรม ในการนำผลิตภัณฑ์อาหารขยายวงกว้างไปนอกพื้นที่ ทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการนิยม และเกิดนวัตกรรม ที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้สินค้าได้ถึงผู้บริโภคที่ห่างไกลออกไปได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลของการขยายธุรกิจในอนาคตอีกด้วย
3.             ก่อให้เกิดการกระตุ้นการแข่งขันทางธุรกิจ (Stimulating economic Competition) ธุรกิจขนาดย่อมจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันทางด้านธุรกิจเป็นเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในด้านการแข่งขันทางด้านการขาย โดยธุรกิจขนาดใหญ่นั้นสินค้าบางประเภทจะมีการหน่ายราคาที่สูงแต่เมื่อมีการแข่งขันจากธุรกิจขนาดย่อมแล้วนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจขนาดใหญ่จะทำการลดราคาสินค้าลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผลที่เกิดคือผู้บริโภคสามารถมีตัวเลือกได้ในการที่จะใช้สินค้าและบริการจากการกระตุ้นทางธุรกิจ
4.             ช่วยให้ธุรกิจขนาดใหญ่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่สูง (Aiding big business) จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าหน้าที่บางประการของการประกอบธุรกิจขนาดย่อมนั้น ทำได้ดีกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ อีกทั้งธุรกิจขนาดใหญ่บางครั้งไม่สามารถทำหน้าที่ในการผลิต และจัดจำหน่ายในทุกกิกรรม  จึงต้องแบ่งความรับผิดชอบบางประการให้กับธุรกิจขนาดย่อม ดังนี้


1.   หน้าที่ในการจัดจำหน่าย (Distribution function) ในการจัดจำหน่ายนี้ธุรกิจขนาดย่อมจะมีหน้าที่เป็นคนกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค มีผู้ผลิตที่มีขนาดใหญ่จำนวนน้อยที่ทำการค้าส่งและค้าปีกด้วยตนเองทั้งหมด ดังนั้นธุรกิจขนาดย่อมจึงทำหน้าที่การจัดจำหน่าย ซึ่งอาจเป็นการค้าส่งหรือค้าปลีก เช่น การขายหนังสือ เครื่องดนตรี น้ำมันรถ อาหาร คอมพิวเตอร์ วัสดุสำนักงาน เครื่องครัว ชิ้นส่วนรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องสำอาจ ฯลฯ
2.   หน้าที่ในการขายปัจจัยทางด้านการผลิต (Supply function) ถือเป็นสิ่งที่ธุรกิจขนาดย่อมจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ขายปัจจัยการผลิตและเป็นผู้รับเหมารายย่อมสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งบริษัทเหล่านั้นจะให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตของผู้ขายปัจจัยการผลิตของตน โดยใช้คำว่า หุ้นส่วน (Partnership) และการใช้กลยุทธ์ทางพันธมิตร (Strategic alliance) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในการทำงาน
การบริหารจัดการธุรกิจ SMEs เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน
                การขับเคี่ยวกันในระบบเศรษฐกิจโลก
                     1.   การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
                     2.   ความสามารถในการผลิตและบริการ
                     3.   การพัฒนาตลาดอย่างมีประสิทธิผล
                     4.   การทำสิ่งที่ดีกว่า / ถูกกว่า / และเร็วกว่า
                     5.   การทำงานด้วยความคล่องตัว และยืดหยุ่นกว่า
                ความได้เปรียบในการแข่งขัน ผู้ที่ได้เปรียบในการแข่งขันจะต้องรู้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีความสามารถที่เหนือกว่า รู้จักแข่งขัน รู้เป้าหมาย ต้องรู้ว่าจุดหมาย / เป้าหมายในการแข่งขันของเราคืออะไร
                ปัญหาของ SMEs คือ
                1.   เงินทุนมีอย่างจำกัด
                2.   กำลังคนมีน้อยหรือว่าได้พนักงานที่มีความสามารถในการทำงานไม่ตรงกับที่ต้องการ
                3.   เครื่องหมายการค้า ซื่อเสียงเป็นที่รู้จักในวงจำกัด ความรู้สึกของผู้บริโภคก็จะยังไม่ค่อยมั่นใจ
                4.   เทคโนโลยี สู้กับบริษัทใหญ่ๆ ไม่ได้
                5.   ตลอดจนความรู้ความสามารถที่ยังมีน้อยอยู่
ระบบบริหารการจัดการเชิงคุณภาพเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award - TQA) เริ่มต้นตั้งแต่มีการลงนามในบันทึกความระหว่างสถาบันเพิ่มองค์กรที่เป็นเลิศ
                รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award - TQA) เริ่มต้นตั้งมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างสถานบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2539 เพื่อนศึกษาแนวทางการจัดตั้งรางวัลคุณภาพแห่งชาติขึ้นในประเทศไทย และด้วยตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้บรรจุรางวัลคุณภาพแห่งชาติไว้ในแผนยุทธศาสตร์ การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่9โดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลัก                ในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเผยแพร่สนับสนุนและผลักดันให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาคการผลิตและการบริการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไป พัฒนาขีดความ สามารถด้านการบริหารจัดการ องค์กรที่มีวิธีปฏิบัติและผลการดำเนินการในระดับมาตรฐานโลกจะได้รับการประกาศเกียรติคุณ ด้วยรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และองค์กรที่ได้รับรางวัลจะนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรของตนไปสู่ความสำเร็จ เพื่อเป็นแบบอย่าง ให้องค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อมีการขยายการดำเนินงานปอย่างกว้างขว้างย่อมจะส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าโลกได้
                รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ถือเป็นรางวัลระดับมาตรฐานโลก เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Balding National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
                ระบบบริหารจัดการเชิงภาพคุณภาพ ต้องมี 3 ส่วนที่สำคัญคือ
1.   ตัวผลักดัน คือ ผู้นำ เจ้าของกิจการ
2.   ระบบ คือ การวางแผนเชิงกลยุทธ์, การจัดการทรัพย์กรบุคคล, การจัดการกระบวนกวนการ, ข้อมูลและการวิเคราะห์
3.   เป้าหมาย คือ ลูกค้า และการบริการที่มุ่งเน้นความพึ่งพอใจ, ผลกำผลทางธุรกิจ,



ระบบบริหารจัดการเชิงคุณภาพ กับความได้เปรียบทางการแข่งขัน
1.   ตัวผ้ำต้องมีศักยภาพของผู้นำ ต้องมีความสามารถในการนำคน มีการมองที่กว้างไกล
2.   การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ต้องเป็นสิ่งที่สามมารถทำได้จริง
3.   การจัดการกระบวนการ ต้องมีการทำงานเป็นทีม
4.   การจัดการกระบวนการ ที่เรียกว่าการว่านวัตกรรม
5.   ข้อมูลและการวิเคราะห์ การตัดการความรู้
6.   การบริการลูกค้าต้อง มีคุณภาพ, มีความรวดเร็วและเอาใจใส่ลูกค้า

                ความได้เปรียบทางกายภาพทางการแข่งขันในยุคใหม่มีสิ่งสำคัญดังนี้
1.   ศักยภาพผู้นำ
2.   กำหนดทิศทางกลยุทธ์
3.   การสร้างสรรค์วัตกรรม
4.   การบริหารจัดหาความรู้
5.   การแบ่งแบรนด์
6.   การสร้างเครือข่าย
7.   คุณภาพทีมงาน
8.   ความรวดเร็วในการทำงาน

                ความสามารถของผู้ประกอบการในโลกยุคใหม่
1.   ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และวัตกรรม
2.   มีความคิดความเข้าใจในเชิงระบบ
3.   มีการบริหารการจัดการคุณภาพและสร้างคุณค่า
4.   มีความเป็นผู้นำด้านต้นทุน
5.   มีการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์
6.   มีการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
7.   มีความสามารถในการเป็นผู้นำ
8.   มีความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ
                รูปแบบวิธีคิด
1.   มุมมองที่เปิดกว้าง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
2.   ความคิด ความเข้าใจ เชิงระบบในองค์กร
3.   ความคิดเชิงบวก พลังความคิดริเริ่มสร้างและนวัตกรรม
4.   วิธีคิดเชิงกลยุทธ์
                รูปแบบวิธีคิดที่ 1 เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
1.   อนาคตไม่ใช่เส้นตรงจากอดีตอีกต่อไป
2.   โลกของเราเปลี่ยนไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้คน สังคม การตลาด เทคโนโลยี และ ธุรกิจ ต้องถามตัวเองแล้วว่าเราพร้อมหรือยังที่จะเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับอนาคต

                รูปแบบวิธีคิดที่ 2 นวัตกรรม
การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการมองที่กำลังจะเกิดขึ้นและเป็นไป โดยการประมวลผลจากสิ่งแวดล้อม ความต้องการ ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ โดยตัดอคติที่มีอยู่ทิ้งไป

ประเภทของนวัตกรรม
1.   ด้านผลิตภัณฑ์
2.   ด้านการบริการ
3.   ด้วนกระบวบการ
4.   ด้านรูปแบบธุรกิจ

                รูปแบบวิธีคิดที่ 3 วิธีคิดเชิงกลยุทธ์
1.   การวิเคราะห์ การจับข้อมูลมาแยก ออกเป็นส่วนๆ
2.   การวิเคราะห์ หรือการสร้างทางเลือกในการแก้แก้ปัญหา
3.   การตั้งเป้าหมาย
4.  กระบวนการทำงาน หรือแผนการดำเนินงาน





     




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น