หน้าเว็บ

ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทที่ ๑๐ การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์


บทที่ 10

การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

ข้อควรระวังในการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
                สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานได้ดีนั้น ควรเป็นห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่นและ ความชื้น ซอฟแวร์ แผ่นดิสก์ได้รับการขีดข่วน ได้รับความร้อนสูง หรือตกกระทบกระแทกแรง ๆ สิ่งที่ทำ ลายซอฟแวร์ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์
                1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความสะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด
                2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า
                3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย
                4. ไม่ควรฉีดสเปร์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
                5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
                6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น
                7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
                8. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
สาเหตุที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดความเสียหาย
                1. ความร้อน
                ความร้อนที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหา ส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์เองวิธีแก้ปัญหา คือ จะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด
               


                วิธีแก้ปัญหา
·     พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบ ต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซ็นต์อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง 60-70 องศาฟาเรนไฮต์
·     ใช้เพาเวอร์ซับพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง
·     ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานาน ๆ

2. ฝุ่นผง
                เป็นที่ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ในทุก ๆ ที่ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจรของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เสมือนฉนวนป้องกันความร้อน ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบ ไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอก นอกจากนี้อาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซับพลายหรือฮาร์ดดิสค์ หรืออาจเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นดิสค์กับหัวอ่าน ทำให้แผ่นดิสค์หรือหัวอ่านเกิดความเสียหายได้
                วิธีแก้ไข
·          ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก 6 เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ
·          ตัวถัง หรือ ชิ้นส่วนภายนอกอาจใช้สเปร์ทำความสะอาด
·          วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อน ๆ ปัดฝุ่นออก
·          อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์
3. สนามแม่เหล็ก
                แม่เหล็กสามารถทำให้ข้อมูลในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์สูญหายได้อย่างถาวรแหล่งที่ให้กำเนิดสนามแม่เหล็กในสำนักงานมีอยู่มากมายหลายประเภท อาทิ เช่น
·          แม่เหล็กติดกระดาษบันทึกบนตู้เก็บแฟ้ม
·          คลิปแขวนกระดาษแบบแม่เหล็ก
·          ไขควรหัวแม่เหล็ก
·          ลำโพง
·          มอเตอร์ในพรินเตอร์
·          UPS

วิธีแก้ไข
·          ควรโยกย้ายอุปกรณ์ที่มีกำลังแม่เหล็กมาก ๆ ให้ห่างจากระบบคอมพิวเตอร์

4. สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้ามีหลายลักษณะ อาทิเช่น
·          แรงดันเกิน
·          แรงดันตก
·          ทรานเซียน
·          ไฟกระเพื่อม
5. แรงดันเกิน
                ในกรณีที่เครื่องของท่านได้รับแรงดันไฟฟ้าเกินจากปกติ เป็นเวลานานกว่าวินาที จะมีผลทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องเกิดความเสียหายได้
6. แรงดันตก
                ในกรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ากันมากเกินความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าจะมีผลทำให้เกิดเหตุกรณีไฟตกได้ ไฟตกอาจทำให้การทำงานของเพาเวอร์ซับพลายผิดพลาดได้ เนื่องจากเพาเวอร์ซับพลายพยายามจ่ายพลังงานให้กับวงจรอย่างสม่ำเสมอ โดยไปเพิ่มกระแส แต่การเพิ่มกระแสทำให้ตัวนำ เพาเวอร์ซับพลายและอุปกรณ์ต่าง ๆ ร้อนขึ้น ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เกิดความเสียหายได้
7. ทรานเชี่ยน
                ทรานเชี่ยน หมายถึง การที่ไฟฟ้ามีแรงดันสูง (sags) หรือต่ำกว่าปกติ (surge) ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ทรานเชี่ยนที่เกิดในบางครั้งจะมีความถี่สูงมาก จนกระทั่งสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวเก็บประจุไฟฟ้าในเพาเวอร์ซับพลาย เข้าไปทำความเสียหายให้แก่อุปกณ์อิเล็กทรอนิส์ได้
8. ไฟกระเพื่อม
                ทุกครั้งที่ท่านเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า จะทำให้กำลังไฟเกิดการกระเพื่อม เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกระแสไฟฟ้ามาก ๆ ก็จะทำให้ความแรงของการกระเพื่อมมีค่ามากตามไปด้วย จากการศึกษาพบว่า การเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละครั้งจะทำให้เกิดการกระเพื่อม – ครั้ง ภายในเสี้ยววินาที การกระเพื่อมจะมีผลต่อทุก ๆ ส่วนภายในตัวเครื่องรวมทั้งหัวอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสค์ด้วย
9. ไฟฟ้าสถิตย์
ไฟฟ้าสถิตสามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล แต่ในสภาวะที่อากาศแห้ง จะส่งผลให้ความเป็นฉนวนไฟฟ้าสูง ประจะของไฟฟ้าสถิตจะสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก และหาทางวิ่งผ่านตัวนำไปยังบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า ดังนั้นเมื่อท่านไปจับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประจุของไฟฟ้าสถิตจากตัวท่านจะวิ่งไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น ทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ แต่ในสภาวะที่มีความชื้นสูง ไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นจะรั่วไหลหายไปในระยะเวลาอันสั้น
วิธีแก้ไข
·       ควรทำการคายประจุไฟฟ้าสถิต ด้วยการจับต้องโลหะอื่นที่ไม่ใช้ตัวถังเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะสัมผัสอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
10. น้ำและสนิม
                น้ำและสนิมเป็นศัตรูตัวร้ายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด สนิมที่พบในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ มักจะเกิดจากการรั่วซึมของแบตเตอรี่บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้น นั่นหมายความว่าท่านจะต้องควักกระเป๋าซึ้อเมนบอร์ดตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่าที่ต้องทิ้งลงถึงขยะสถานเดียว
วิธีแก้ไข
·       หลีกเหลี่ยงการนำของเหลวทุกชนิดมาวางบนโต๊ะคอมพิวเตอร์ของท่าน
·       กรณีการรั่วซึมของแบตเตอรี่ แก้ไขได้โดยการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ เมื่อเครื่องของท่านมีอายุการใช้งานได้ประมาณ 1-2 ปี เป็นต้นไป

การบำรุงรักษาตัวเครื่องทั่วไป
·       เครื่องจ่ายไฟสำรอง (UPS) ถ้าทีงบประมาณเพียงพอควรติดตั้งร่วมกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเพราะ UPS จะช่วยป้องกันและแก้ปัญหาทางไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นไฟตก ไฟเกิน หรือไฟกระชาก อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายของข้อมูลและชิ้นส่วนอื่น ๆ
·       การติดตั้งตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ควรติดตั้งในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือ ถ้ามีไม่มีเครื่องปรับอากาศควรเลือกห้องที่ปลอดฝุ่นมากที่สุด และการติดตั้งตัวเครื่องควรจากผนังพอสมควรเพื่อการระบายความร้อนที่ดี
·       การต่อสาย Cable ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Printer Modem Fax หรือส่วนอื่น ๆ จะต้องกระทำเมื่อ power off  เท่านั้น
·       อย่าปิด – เปิดเครื่องบ่อย ๆ เกินความจำเป็น เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่
·       ไม่เคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องทำงานอยู่ เพราะจะทำให้อุปกรณ์บางตัวเกิดความเสียหายได้
·       อย่าเปิดฝาเครื่องขณะใช้งานอยู่ ถ้าต้องการเปิดต้อง power off  และถอดปลั๊กไฟก่อน
·       ควรศึกษาจากคู่มือก่อนหรือการอบรมการใช้งาน Software ก่อนการใช้งาน
·       ตัวถึงภายนอกของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นส่วนประกอบของเหล็กกับพลาสติกเมื่อใช้นาน ๆ จะมีฝุ่นและคราบรอยนิ้วมือมาติดทำให้ดูไม่สวยงามและถ้าปล่อยไว้นาน ๆ จะมีฝุ่นและคราบรอยนิ้วมือมาติดทำให้ดูไม่สวยงามและถ้าปล่อยไว้นาน ๆ จะทำความสะอาดยาก จึงควรทำความสะอาดบ่ยอ ๆ อย่างน้อย 1 – 2 เดือนต่อครั้ง โดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดที่ตัวเครื่องใช้เรียบร้อยหลังเลิกใช้งานทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่นผงต่างๆ

การบำรุงรักษา Hard disk
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีอายุยืนมากยากจะบำรุงรักษาด้วยตัวเอง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายซึ่งควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
·       การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์โดยให้ด้านหลังของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ห่างจากฝาผนังไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว เพื่อการระบายความร้อน 0 เป็นอย่างปกติไม่ทำให้เครื่องร้อนได้
·       ควรเลือกใช้โต๊ะทำงานที่แข็งแรงป้องกันการโยกไปมาเพราะทำให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ถูแกระทบกระเทือนได้
·       ควรมีการตรวจสอบสถานภาพของ Hard Disk ด้วยโปรแกรม Utility ต่าง ๆ ว่ายังสามารถใช้งานได้ครบ 100 % หรือมีส่วนใดของ Hard Disk ที่ใช้งานไม่ได้
การบำรุงรักษา Disk Drive
                ช่องอ่านดิสก์เมื่อทำงานไปนาน ๆ หัวอ่านแผ่นดิสก์อาจจะเสื่อมสภาพไม่ได้ หัวอ่านดิสก์เกิดความสกปรกเนื่องจากมีฝุ่นละอองเข้าไปเกาะที่หัวอ่าน หรือเกิดจากความสกปรกของ แผ่นดิสก์ที่มีฝุ่น หรือคราบไขมันจากมือ ผลที่เกิดขึ้นทำให้การบันทึก หรืออ่านข้อมูลจากแผ่นดิสก์ไม่สามารถดำเนินการได้ การดูแลรักษา Disk Drive ควรปฏิบัติดังนี้
·       เลือกใช้แผ่นดิสก์ที่สะอาดคือไม่มีคราบฝุ่น ไขมัน หรือรอยขูดขีดใด ๆ
·       ใช้นำยาล้างหัวอ่านดิสก์ทุก ๆ เดือน
·       หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นดิสก์เก่าที่เก็บไว้นาน ๆ เพราะจะทำให้หัวอ่าน Disk Drive สกปรกได้ง่าย
การบำรุงรักษา Floppy Disk Drive
                แผ่นดิสก์มีความละเอียดมาก จึงควรมีการดูแลรักษาอยู่เสมอ เพราะ ถ้าแผ่นดิสก์ชำรุด หรือมีความสกปรก จะส่งผลกระทบต่อข้อมูล ที่บันทึกไว้หรือกำลังจะบันทึกใหม่ และที่สำคัญคือ จะสร้างความเสียหายให้แก่หัวอ่านดิสก์ด้วยผู้ใช้คอมพิวเตอร์ จึงควรระมัดระวังดูแลเอาใจใส่ โดยควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
·       ระมัดระวังอย่าให้มือไปถูกบริเวณที่เป็นแม่เหล็กของแผ่นดิสก์ เพราะไขมันบริเวณผิวหนังของเรา จะทำให้เกิดความสกปรกต่อบริเวณที่บันทึกข้อมูล
·       อย่าใช้แรงกดปากกาเกินไป ขณะเขียนที่แผ่นป้ายชื่อของแผ่นดิสก์
·       อย่าให้แผ่นดิสก์อยู่ใกล้ บริเวณที่มีคลื่นแม่เหล็กมาก ๆ เช่นเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นบน MONITO หรือเครื่องโทรศัพท์แบบหมุน
·       อย่าบิดหรืองอแผ่นดิสก์เล่นเป็นอันขาด
·       อย่าให้แผ่นดิสก์มีรอยขูดขีด หรือถูกของเหลวเช่นน้ำ ดังนั้นเมื่อใช้แผ่นดิสก์เสร็จแล้วพยายาม เก็บไว้ในซองบรรจุให้เรียบร้อย
·       ควรเก็บแผ่นดิสก์ไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม อย่าทิ้งไว้หน้ารถให้ตากแดดนาน ๆ
การบำรุงรักษา Monitor
                ในส่วนของจอภาพนั้นอาจเสียหายได้เช่น ภาพอาการเลื่อนไหลภาพล้ม ภาพเต้นหรือไม่มีภาพเลย ซึ่งความเสียหายดังกล่าวจะต้องให้ช่างเท่านั้นเป็นผู้แก้ไขผู้แก้ไขผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรระมัดระวัง
โดยปฏิบัติดังนี้
·       อย่าให้วัตถุหรือน้ำไปกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์
·       ควรเปิดไฟที่จอก่อนที่สวิซไฟที่ CPU เพื่อ boot เครื่อง
·       ไม่ควรปิด ๆ เปิด ๆ เครื่องติด ๆ กัน เมื่อปิดเครื่องแล้วทิ้งระยะไว้เล็กน้อยก่อนเปิดใหม่
·       ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับสภาพของห้องทำงาน เพราะถ้าสว่างมากเกินไปย่อมทำให้จอภาพอายุสั้นลง
·       อย่าเปิดฝาหลัง Monitor ซ่อมเอง เพราะจะเป็นอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง
·       เมื่อมีการเปิดจอภาพทิ้งไว้นาน ๆ ควรจะมีการเรียกโปรแกรมถนอมจอภาพ (Screen Sever) ขึ้นมาทำงานเพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพ
การบำรุงรักษา Inkjet & Dot – Matrix Printer
                เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแสดงผล รายงาน ของข้อมูลต่าง ๆ ทางกระดาษ การที่จะใช้เครื่องพิมพ์ทำงานได้เป็นปกติผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรหมั่นดูแลรักษาดังนี้
·       รักษาความสะอาด โดยดูดฝุ่น เศษกระดาษที่ติดอยู่ในเครื่องพิมพ์ทุกเดือนหรือใช้แปรงขนนุ่มปัดฝุ่นเศษกระดาษออกจากเครื่องพิมพ์อย่าใช้แปรงชนิดแข็งเพราะอาจทำให้เครื่องเป็นรอยได้
·       ถ้าตัวเครื่องพิมพ์มีความสกปรกอาจ ใช้ผ้านุ่มหรือฟองน้ำชุบน้ำยาทำความสะอาดเครื่องใช้สำนักงานเช็ดถูส่วนที่เป็นพลาสติกแต่ต้องระมัดระวังอย่าใช้น้ำเข้าตัวเครื่องพิมพ์ได้ และควร หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหล่อลื่นทุกชนิด ในตัวเครื่องเราะอาจทำให้ระบบกลไกเสียหายได้
·       ก่อนพิมพ์ทุกครั้งควรปรับความแรง ของหัวเข็มให้พอเหมาะกับความหนาของกระดาษ
·       ระหว่างพิมพ์ควรระวังหัวพิมพ์จะติดกระดาษ เช่น การพิมพ์ซองจดหมายหรือกระดาษที่มีความหนาหรือบางเกินไป
·       อย่าถอดหรือเสียบสาย Cable ในขณะที่เครื่องพิมพ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่
·       ไม่ควรพิมพ์กระดาษติดต่อกันนานเกินไปเพราะอาจทำให้หัวอ่านร้อนมากทำให้เครื่องชะงักหยุดพิมพ์กระดาษ
·       เมื่อเลิกพิมพ์งานควรนำกระดาษออกจากถาดกระดาษ และช่องน้ำกระดาษ
·       ไม่ควรใช้กระดาษไข (Stencil Paper) แบบธรรมดาหับเครื่องพิมพ์ประเภทแบบกระแทก (Dot-matrix Printer) เนื่องจากเศษของกระดาษไขอาจจะไปอุดตันเข็มพิมพ์อาจทำให้เข็มพิมพ์อาจหักได้ควรใช้กระดาษไขสำหรับเครื่องพิมพ์แทน เพื่อป้องกันการชำรุดของเฟืองที่ใช้หมุนกระดาษ

การบำรุงรักษา Laser printer
                Laser Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถพิมพ์ภาพได้อย่างคมชัดมากมีความละเอียดสวยงาม แต่ราคาค่อนข้างสูงผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังในการใช้งานแม้ว่าโอกาสจะเสียหายมีน้อยก็ตาม ข้อควรปฏิบัติดังนี้
·       การเลือกใช้กระดาษไม่ควรใช้กระดาษ ที่หนาเกินไปจะทำให้กระดาษติดเครื่องพิมพ์ได้
·       ควรกรดกระดาษให้ดีอย่าให้กระดาษติดกัน เพราะอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดาษติดในตัวเครื่องพิมพ์ได้
·       การใช้พิมพ์ Laser Printer พิมพ์ลงในแผ่นใส ก็ต้องเลือกใช้แผ่นใสที่ใช้ถ่ายเอกสารได้เท่านั้น หากใช้แผ่นใสแบบธรรมดาซึ่งไม่สามารถทนความร้อนได้อาจจะหลอมละลายติดเครื่องพิมพ์ทำให้เกิดความเสียหาย
วิธีการลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นด้วย Disk Cleanup
                ขณะทำงานจะมีไฟล์บางประเภทที่ไม่ได้ใช้งานเกิดขึ้นมา เช่น ไฟล์ชั่วคราวไฟล์ที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ไฟล์ที่ถูกลบอยู่ใน Recycle Bin เป็นต้น ซึ่งไฟล์เหล่านี้เป็นไฟล์ที่สามารถลบทิ้งไปได้ และเมื่อลบแล้วก็จะช่วยให้มีพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้การทำงานของเครื่องเร็วขึ้นอีกด้วย โดยมีวิธีการดังนี้
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น